วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทย

 วันลอยกระทง


เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล



      ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่
กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ
ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธี
จองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร
พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท
ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย
       การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ
ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน  12  ให้ทำโคมลอย  เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา
พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่
และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
"ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรม
วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง
ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอกทำประกวด
ประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้างวิจิตรไปด้วยเครื่องสด
คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20  ชั่งบ้าง
ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปี
ที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยัง
นิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้
โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้
ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้าพร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาว
สวยงามมากทีเดียว

ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย        การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของ
พระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคม
ในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง
กรุงเทพมหานคร

สถานที่จัดงาน :บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงเทพ-สะพานกรุงธน) กรุงเทพมหานคร
กิจกรรม :
ชม ฟรี  ขบวนเรือประดับไฟฟ้า “สายน้ำสายวัฒนธรรม” และขบวนเรือประเพณีลอยกระทง ชิงเงินรางวัลกว่า ๑.๕๐๐.๐๐๐ บาท  ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๙.๓๐-๒๒.๐๐ น. บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานกรุงเทพถึงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร
สัมผัสบรรยากาศพิเศษสุดของงานลอยกระทงในแบบฉบับกรุงรัตนโกสินทร์ชมฟรี  ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๓๐-๒๑.๓๐ น. ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ  กรุงเทพมหานคร  อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชนิด
ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้าในมุมมองที่ดีที่สุด  ดื่มด่ำกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม  บรรยากาศตลาดย้อนยุค
ท่องเที่ยวทางน้ำตามรอยพระราชอาคันตุกะ  และไหว้พระ ๙ วัด  ชมสีสันของแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนกับสมาคมเรือไทย  ร้านอาหาร  โรงแรม  ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งเดือน  พฤศจิกายน ๒๕๕๑

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
จังหวัดสุโขทัย

สถานที่จัดงาน :บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม :ตระการ ตากับขบวนแห่กระทงใหญ่ จากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย  ขบวนโคมชักโคมแขวน  การแสดงพลุ  ดอกไม้ไฟไทยโบราณ  เช่น  พลุ  ตะไล  ไฟพะเนียง  ไฟกังหัน  โคมลอย  ฯลฯ  ประกวศนางนพมาศ  การแสดงแสง-เสียง “รุ่งอรุณแห่งความสุข” การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีสุโขทัย ประกวดกระทงและร่วมลอยกระทง ร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ ในคืนเดือนเพ็ญ ณ เมืองเก่ากรุงสุโขทัย

ประเพณียี่เป็ง
จังหวัดเชียงใหม่

สถานที่จัดงาน :บริเวณข่วงประตูท่าแพ  ริมฝั่งแม่น้ำปิง  หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรม :ตื่น ตากับโคมลอย  ขบวนแห่โคมไฟ  ขบวนประกวดกระทง  ประกวดเทพียี่เป็ง  และการแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิงกิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทยใน อดีต  การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา  การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง
จังหวัดตาก

สถานที่จัดงาน :บริเวณแม่น้ำปิง  ริมสายธารลานกระทงสาย  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก
กิจกรรม :สัมผัส บรรยากาศและร่วมเชียร์การแข่งขันประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทาน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  การจัดลอยประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์  ขบวนแห่กระทงพระราชทานและพระประทีปพระราชทาน  การตกแต่งประดับไฟในบรรยากาศกระทงสาย  การแสดงแสง-เสียง  พลุ  ดอกไม้ไฟ  และม่านน้ำ  ชุด “ตำนานกระทงสาย” การจัดลอยกระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สถานที่จัดงาน :บริเวณอทุยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม :เชิญ ร่วมลอยกระทงตามประทีปรูปแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา ชมการประกวดกระทง และโคมแขวน ประกวศนางนพมาศ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มหรสพต่าง ๆ มากมาย ข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร ๐ ๓๕๓๒ ๒๗๓๐-๑

งานแสดงโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ สีสันเมืองใต้
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สถานที่จัดงาน :ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
กิจกรรม :ตระการ ตากับงานลอยกระทงร่วมสมัย และการแสดงโคมไฟ “๗ โซนมหัศจรรย์” ประกอบด้วยมหัศจรรย์โคมไฟ จินตนาการโลกของเด็ก มหัศจรรย์โคมไฟกลางน้ำ มหัศจรรย์โลกของสัตว์ มหัศจรรย์โคมไฟนานาชาติ มหัศจรรย์โคมไฟจื้อกงหรือโคมไฟชุดพิเศษ มหัศจรรย์โคมไฟโลกสัตว์ปีก มหัศจรรย์โคมไฟประติมากรรม นิทรรศการเกี่ยวกับโคมไฟทั้งไทยและต่างประเทศ และการแสดงทางวัฒนธรรม

 คุณค่าและความสำคัญ
ลอย กระทงเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีการปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพื่อให้ความเคารพ และขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หรือ ทำความเสียหายแก่น้ำ เช่น ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ หรือลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่งประเพณีลอยกระทงก่อให้เกิดคุณค่าและความ สำคัญ ดังนี้
1. คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทงไปลอยเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ให้คุณประโยชน์ แก่เรา
2. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
3. คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการ ช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ
4. คุณค่าต่อศาสนา เป็นการช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยแต่โบราณ

กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริม.... 

ประเพณีลอยกระทง มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป ได้แก่
1. การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังงานลอยกระทง เช่น ขุดลอกคูคลอง เก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลในแหล่งน้ำ จากนั้นก็นำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง และทำพิธีระลึกบูชาคุณค่า ของน้ำ โดยการตั้งคำปฏิญาณที่จะรักษาแหล่งน้ำต่อไป
2. การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์และถือศีลปฏิบัติธรรม ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
3. การรณรงค์ประดิษฐ์กระทงโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือเป็นวัสดุที่ใช้เป็นอาหารสำหรับ สัตว์น้ำ เช่น ปลา ได้
4. การจัดขบวนแห่กระทง และการจัดกิจกรรมประกวดกระทง โคมลอย ไม่ควรให้ความสำคัญกับการประกวด นางนพมาศ มากเกินไปนัก
5. การจุดดอกไม้ไฟ ควรจุดอย่างระมัดระวัง ในเวลา และบริเวณที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเท่านั้น
6. การละเล่นรื่นเริงตามความเหมาะสมตามประเพณีท้องถิ่นนั้น ๆ
7. การรณรงค์ไม่ปล่อยน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในแหล่งน้ำ
แหล่งอ้างอิง

ประเพณีลอยเรือ

loyrungงานประเพณีลอยเรือ เป็นประเพณีของชาวเลเผ่ามอแกน ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณเกาะสุรินทร์ จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคมของทุกปี ที่บริเวณหมู่บ้านชาวเลบนเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นประเพณีการประกอบพีธีฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโปง) ในระหว่างนี้ชาวเผ่ามอแกนจะหยุดการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในงาน ในวันงานจะมีการเข้าทรง การเซ่นไว้วิญญาณบรรพบุรุษ การเสี่ยงทาย การเล่นดนตรี การร่ายรำและการลอย “ก่าบาง” ซึ่งถือว่าเป็นการลอยความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นไปจากครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ยังมีชาวเผ่ามอแกนจากที่อื่นๆ ในแถบใกล้เคียงเดินทางมาร่วมงานด้วย เพื่อมาทำพิธีเซ่นสรวงบูชาวิญญาณบรรพบุรุษให้ช่วยปกป้องคุ้มครองพวกตน
ชาวเล ถือว่าการลอยเรือเป็นประเพณีสำคัญที่สุดในรอบปี นิยมจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งๆ ละ 3 วัน คือในวันขึ้น 14, 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ ของเดือน 6 กับเดือน 11 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ส่วนวันลอยเรือชาวเลบางแห่งจะพากันไปเซ่นไหว้ผีหมู่บ้านก่อนเพื่อความเป็น สิริมงคล ส่วนในการต่อเรือพิธี หรือ ปลาจั๊ก ซึ่งทั้งหมู่บ้านจะต่อกันเพียงลำเดียว ไม้ที่ใช้ต่อเรือจะเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนมากนิยมใช้ไม้ระกำ โดยเรือปลาจั๊กจะมีขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาวประมาณ 6 ฟุต ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ใบเรือทำจากผ้าดิบ และยังมีการแกะสลักไม้ระกำ เป็นนายท้ายเรือ พายนำเครื่องใช้ประจำวัน อาทิ มีด ครก เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ใส่ไปในเรือด้วย จากนั้นเมื่อทำการต่อเรือเสร็จแล้ว ในตอนค่ำ ผู้นำครอบครัวจะนำตุ๊กตาที่แกะสลักเป็นรูปคนโดยแกะจากไม้ระกำ ตามจำนวนสมาชิกของครอบครัว พร้อมทั้งตัดเล็บมือ เล็บเท้า เส้นผมของทุกคนในบ้าน ตลอดจนของแห้ง เช่น กะปิ เกลือ หมาก พลู ที่เตรียมมาใส่ลงไปในเรือด้วย

สำหรับการลอยเรือนั้น ในตอนค่ำจะมีหนุ่มสาวชาวเล ร่วมกันเต้นรำวง ร้องรำรองแง็งกันอย่างครึกครื้นสนุกสนานจนกระทั่งถึงรุ่งสางของวันใหม่ จากนั้นก็จะมีการนำรือปลาจั๊กปล่อยลงกลางทะเล เมื่อแน่ใจว่าเรือได้ลอยหายลับไปแล้ว จึงเป็นอันว่าเสร็จพิธีกรรมหลัก

หลังจากนั้นพวกผู้ชายจะเข้าป่าไปหาไม้มาทำเป็นรูป ไม้กางเขนจำนวน 7 อัน ที่ปลายไม้ทั้งสองด้านติดใบกะพ้อ นำไปปักเรียงเป็นแถวตามแนวตั้งจากบกออกสู่ทะเลตรงบริเวณที่วางเรือพิธี ไม้นี้ชาวเล เรียกว่า กายู่ฮาปัด เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ คอยปัดรังควานไม่ให้สิ่งอัปมงคลกลับเข้ามาในหมู่บ้านอีก ชาวบ้านจะปักไม้นี้ไว้จนถึงเช้าวันพรุ่ง จึงถอนออกไปปักใหม่เป็นแนวนอนยาวตลอดตั้งแต่หัวหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน เป็นอันเสร็จพิธีลอยเรือ บรรดาพี่น้องชาวเลจากที่ต่างๆที่สนุกสนานรื่นเริงกันมาหลายวันก็ถึงคราวต้อง เลิกรา รอจนกว่าพิธีลอยเรือในครั้งหน้าจะเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งจึงถอนไม้กายู่ปา ฮัดท่อนเก่าออก เพื่อนำท่อนใหม่มาปักแทน
แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น