วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางศาสนา


วันฮารีรายอ

“วันฮารีรายอ” เทศกาลแห่งความสุขที่มุสลิมทั่วโลกรอคอยมาถึงอีกครั้งแล้ว คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นวันปีใหม่ตามปฏิทินอิสลาม แต่ผิดถนัด!! แท้จริงมันคือวันสำคัญทางศาสนา เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติศาสนกิจ และแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน
      
       “ฮารีรายอ” ไม่ใช่วันปีใหม่... อย่าเข้าใจผิด
     
       “ฮารีรายอ” เป็นคำที่คนทั่วไปคุ้นหูเมื่อกล่าวถึงเทศกาลเฉลิมฉลองครั้งสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลก เดิมคำนี้มีรากศัพท์มาจากคำว่า Hari Raya ในภาษามลายู โดยมุสลิมแถบ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส จะออกเสียงเป็นภาษามลายูถิ่นว่า “ฮารีรายอ” แต่มุสลิมในพื้นที่อื่นๆ ของภาคใต้ ตั้งแต่ จ.สงขลา จ.สตูล จ.ตรัง จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ ไล่ไปจนถึง จ.สุราษฎร์ธานี จะเรียกเทศกาลนี้ว่า “ฮารีรายา” ส่วนมุสลิมในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทยนั้น มักจะเรียกทับศัพท์ด้วยภาษาอาหรับว่า “วันอีด (Eid)” ซึ่งแปลว่า เทศกาลงานรื่นเริง


การละเล่นของไทย

การละเล่นของไทย

กงจักร

 

 

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

ผู้เล่นนำฝาเบียร์มาทับให้แบน เจาะรูตรงกลาง นำเชือกร้อยเข้าไปในรูตรงกลางถือเชือกไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง แกร่งเชือกให้เป็นเกลียวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วดึงให้ฝาเบียร์จะหมุนอย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์
ฝาเบียร์, ตะปู, ค้อน, เชือก

กระโดดกบ

จำนวนผู้เล่น

ไม่เกิน 10 คน

วิธีเล่น

เอาผ้าผูกขา ข้างของผู้เล่นติดกัน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทุกคนจะกระโดดออกจากเส้นเริ่มต้นไปจนถึงเส้นชัย ใครไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ

อุปกรณ์

ผ้าสำหรับใช้ผูกขาเท่าจำนวนผู้เล่น

กระโดดเชือกคู่

จำนวนผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

เลือกผู้เล่น คนมาจับปลายเชือกคนละข้าง แล้วแกว่งไปด้านข้างทางเดียวกัน  ผู้เล่นที่เหลือเข้าไปกระโดดข้ามเชือกที่กำลังแกว่าง  จะกระโดดทีละคนหรือพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้  ถ้าใครกระโดดสะดุดเชือก หรือกระโดดคร่อมเชือก ถือว่าตายต้องไปถือเชือกแกว่ง และให้คนที่ถือเชือกอยู่เดิมมากระโดดแทน

อุปกรณ์

เชือก เส้น ยาวประมาณ 5.10 เมตร

ประเพณีไทย

 วันลอยกระทง


เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล


คุณธรรมจริยธรรมของครู

วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู



                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ